History of the Mola village

Doi Lan Village’s Brief History

Doi Lan Village or Mola in Lisu language was settled around 1950-1951. Doi Lan Village is located the West of Chiang Rai province, 20 kilometers from Mae Suai District Governmental Office and 70 kilometers from Chiang Rai City Hall.
From rock tomb remain that can be seen around the village, Doi Lan Village location is believed to have been Hmong’s habitation. In recent years, a Hmong family has traveled to the village and found their ancestor’s tomb there. They even performed a ceremony to pay respect to the ancestor.
The first group of Lisu who moved to the village found the village with only 20 population and 11 households, all moved from Ban Pha Dang Luang, Ban Huay San, Ban Mai Pattana and Ban Doi Chang.

It took each Lisu person and family 3 – 4 days to migrate from their former village. The husband would pave the way as they traveled during the day. At dusk, the family would build a small shelter to rest at night. Many Lisu families traveled with small children and toddlers. Some women followed their husbands without knowing the direction and the destination. And some of them would cry over the hardship they had to face along the way.

­­Lisu people in the former village had learned of this location that would later on become Doi Lan Village from the elders, hunters and people in their village who liked to travel that this location was fertile. It had big trees without overgrown grass. It was likely to be suitable for opium plantation. There were wild lives such as wild boar and wild fowl. Moreover, it was rather close to Chiang Rai urban area.

“Mola” is Doi Lan Village’s name in Lisu language. Although most of the current residents cannot trace the root of the word, Otome Klein Hutheesing, a Dutch anthropologist who has studied Lisu People here since 1980 has learned from some of the Lisu people that “Mola” should mean “See the Tiger”. “Mo” means “see” in Lisu. And “La” is likely to be short from “Lama”, meaning tiger.

According to the villagers and the school principal, “Doi Lan” the village’s name in Thai was from a bald mountain at the North of the village. “Doi” means mountain and “Lan” means bald.

Today, Doi Lan consists of 706 population with 184 households. The ethnicities here are Lisu, Akha, Yunnanese, Lahu, Tai and Palaung. The last two migrated from Myanmar when the village was in need of agricultural labor. Most of the villagers believe in traditional religion and worship their ancestors. The rest are Christians and Buddhists. 80% of the population are farmers. They grow rice, corn, cabbage, tomato, red bean, black bean and coffee. 20% are labors.
Doi Lan Village Border Patrol Police School, first operated in October 1st 1960. There were 45 students and 2 teachers at the time. The school was first founded by Border Patrol Police to teach children so that communication errors between the villagers and the government officers would no longer be their obstacle. Then Princess Srinagarindra was delighted to learn that border patrol police officers were capable of teaching. She became their main supporter.

In May 10th 1977 Princess Srinagarindra presided the school’s formal opening ceremony and gave the school its current name “Doi Lan Village Border Patrol Police School”

The school’s current principal is Lieutenant Atit Jaengsawang. There are 71 students, 5 teachers, 2 nursery teachers and 1 substitute teacher.

There are two religious places in the village. Doi Lan Maitrichit Baptist Church, established in 1983 is a church under Mission Church. Doi Lan Village Ashram, established in 2002 is under a department at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus. From the Ashram on the West of the village is a beautiful scenery where one can see the villagers’ plantations and the mountains around.

ประวัติหมู่บ้านดอยล้าน

ดอยล้าน หรือ มูหล่า ในภาษาลีซู เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2493-2494 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเชียงราย ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวยประมาณ 20 กิโลเมตรและห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงรายประมาณ 70 กิโลเมตร
มีเรื่องเล่าว่า เดิมทีหมู่บ้านนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง โดยสังเกตจากหลุมฝังศพซึ่งก่อด้วยหิน ปัจจุบัน หลุมฝังศพเหล่านี้ยังคงพบเห็นประปรายอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของหมู่บ้าน สิ่งที่ยืนยันได้ว่าเป็นชาติพันธุ์ม้งคือการที่ครอบครัวชาวม้งครอบครัวหนึ่งขึ้นไปตามหาหลุมฝังศพของบรรพบุรุษที่หมู่บ้านและกระทำพิธีกรรมให้กับบรรพบุรุษเมื่อหลายปีก่อน
ชาวลีซูกลุ่มแรกที่ค้นพบหมู่บ้านนี้กล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวหมู่บ้านดอยล้านมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 11 หลังคาเรือน และจำนวนประชากรประมาณ 20 คน เท่านั้น โดยทั้ง 11 หลังคาเรือนเป็นผู้อพยพจากบ้านผาแดงหลวง บ้านห้วยส้าน บ้านใหม่พัฒนา และบ้านดอยช้าง
การอพยพจากหมู่บ้านเดิมของแต่ละคนหรือแต่ละครอบครัวใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน โดยระหว่างทางผู้เป็นสามีจะถางทางเดินไปเรื่อยๆ พอใกล้ค่ำแต่ละครอบครัวจะช่วยกันสร้างกระท่อมเล็กๆ เพื่อพักผ่อนในยามค่ำคืนและเริ่มเดินทางต่อในวันรุ่งขึ้น มีผู้หญิงลีซูหลายคนเดินทางกับสามีและลูกเล็กเด็กแดงอีก 2-3 คน มีผู้หญิงหลายคนอีกเช่นกันที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเดินทางไปที่ไหนและจะหยุดเดินทางเมื่อไร สามีของพวกเขาพาไปที่ไหนก็ตามไปที่นั่น บางคนร้องไห้ระหว่างทางเพราะความทุกข์และความเหนื่อยยาก
เพราะเหตุใดถึงเลือกอพยพมาที่หมู่บ้านดอยล้าน ผู้เฒ่าในหมู่บ้านได้แบ่งปันความทรงจำว่า พวกเขาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่นี้จากผู้เฒ่าผู้แก่ และผู้คนที่ชอบล่าสัตว์ตามป่าเขาต่างๆ รวมถึงผู้ที่ชอบเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่นๆ พวกเขาบอกกับผู้เฒ่าในหมู่บ้านว่า ถิ่นนี้ดี มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่มากมาย ไม่มีหญ้ารกมากนักและน่าจะเหมาะสมกับการเพาะปลูกฝิ่น นอกจากนี้ ยังมีสัตว์ป่าต่างๆ เช่น หมูป่า และไก่ป่า เป็นต้น ประการสำคัญคือ อยู่ใกล้กับเมืองเชียงรายอีกด้วย
“มูหล่า” คือชื่อของหมู่บ้านในภาษาลีซู ชาวบ้านหลายคนไม่สามารถทราบได้ว่าความหมายของชื่อหมู่บ้านคืออะไร แต่คุณ โอโตเม ไกล์น ฮัทธิซิง (Otome Klein Hutheesing) นักมานุษยวิทยาชาวดัตช์ซึ่งศึกษาชาวลีซูในหมู่บ้านดอยล้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ได้รับข้อมูลจากชาวบ้านบางท่านว่า ความหมายของหมู่บ้านน่าจะเป็น“หมู่บ้านเห็นเสือ” (See the Tiger) เพราะ “มู” ในภาษาลีซูแปลว่า เห็น “หล่า” น่าจะย่อมาจากคำว่า “หล่ามา” ซึ่งแปลว่า เสือ
“ดอยล้าน” คือชื่อของหมู่บ้านในภาษาไทย ส่วนที่มาของชื่อหมู่บ้านดอยล้านนั้น ทั้งชาวบ้านและครูใหญ่ต่างให้ความเห็นเหมือนกันว่า เป็นเพราะหมู่บ้านนี้มีพื้นที่ภูเขาหัวโล้นอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน เป็นภูเขาที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีเพียงภูเขาโล้นๆ เท่านั้น จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ดอยล้าน”
ปัจจุบัน หมู่บ้านดอยล้านมีประชากรประมาณ 706 คน 184 หลังคาเรือน ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านประกอบไปด้วย ชาติพันธุ์ลีซู อาข่า จีนฮ่อ ลาหู่ ไทใหญ่และปะหล่อง กลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มหลังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศเมียนมาร์ เข้ามาอาศัยเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในหมู่บ้าน ด้านความเชื่อและศาสนา ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาดั้งเดิมหรือการเคารพวิญญาณบรรพบุรุษ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ อาชีพหลักของชาวบ้านคือเกษตรกรรม ปลูกข้าว ข้าวโพด กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ถั่วแดง ถั่วดำ และกาแฟ ส่วนอาชีพรับจ้างทั่วไปมีประมาณ 20 %
ในหมู่บ้านยังมีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยล้าน ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ช่วงเวลาดังกล่าวมีนักเรียนประมาณ 45 คน และครูตำรวจตระเวนชายแดนเพียง 2 คน เหตุผลหลักของการก่อตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนื่องมาจากอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างชาวบ้านดอยล้านกับเจ้าหน้ารัฐ โดยเฉพาะเวลาที่เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องตระเวนไปตามหมู่บ้านชายแดน หลังจากที่พบอุปสรรคดังกล่าว ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนจึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นมาและการสอนหนังสือให้กับเด็กๆ ในเวลาต่อมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเห็นว่าตำรวจสามารถสอนหนังสือให้กับชาวบ้านได้ด้วย จึงได้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือตำรวจตระเวนชายแดนตลอดมา
อย่างไรก็ตาม วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี เสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดด้วยพระองค์เองและพระราชทานให้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยล้าน”
ปัจจุบัน ครูใหญ่ของโรงเรียนคือ ร.ต.ท. อาทิตย์ แจ้งสว่าง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 71 คน ครูผู้สอน 5 คน ครูผู้แลเด็ก 2 คน และครูแก้วิกฤตอีก 1 คน
นอกจากโรงเรียนแล้ว ในหมู่บ้านยังมีสถานประกาศไมตรีจิตดอยล้านและอาศรมบ้านดอยล้านอีกด้วย โดยสถานประกาศไมตรีจิตดอยล้านก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 เป็นสถานประกาศในเครือมิชชั่น ส่วนอาศรมบ้านดอยล้านสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2545 อาศรมนี้เป็นโครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาซึ่งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ สถานที่ตั้งของอาศรมนั้นอยู่บริเวณทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และสามารถมองเห็นพื้นที่ไร่ของชาวบ้านรวมถึงภูเขาอีกมากมาย